ประเทศไทย “เจ๊ง” ได้

ในพจนานุกรม… เจ๊ง หมายถึง การเลิกกิจการแบบหมดทุนครับ ประเทศไทยไม่มีหมดทุนครับ ประเทศไทยเจ๊งไม่ได้

— ดนุพร ปุณณกันต์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ในการพิจารณาร่าง พรบ. งบประมาณประจำปี 2568

ทำไมจะหมดทุนไม่ได้หละ ถ้าวันนึงเศรฐกิจพัง รัฐเก็บภาษีไม่ได้ ความน่าเชื่อถือหาย ใครก็ไม่ให้กู้ แล้วประเทศไทยจะไม่หมดทุนได้อย่างไร

และเมื่อถึงวันนั้น แม้ประเทศไทยจะ “เลิกกิจการ” ไม่ได้ (จนไม่เข้าข่าย “เจ๊ง” แบบปกติ) แต่อย่าลืมว่า ประเทศไทยถูก “ซื้อกิจการ” ได้นะครับ แล้วคุณคิดว่า เมื่อวันนึงเราถูกซื้อ “คนซื้อ” จะทำอะไรกับประเทศไทย?

แล้วอย่างนี้ จะไม่กลัว “เจ๊ง” กันหรือ?

บันทึกเป็นความทรงจำ: BTC มูลค่า 50 บาท

บันทึกเป็นความทรงจำ กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว (ช่วงปี 2013) เคยขุดได้ Bitcoin จำนวนเท่าหยิบมืออยู่ใน Coinbase พอ Bitcoin Cash เกิด hard-fork ก็ได้ Bitcoin Cash มาจำนวนเท่ากัน แล้วพอมัน hard-fork ไปเป็น Bitcoin SV ก็ได้มาอีกหยิบมือนึง

วันนี้ Coinbase กำลังจะหยุดให้บริการสำหรับคนไทย เหรียญเท่านี้โอนออกมาก็ไม่ได้เพราะไม่พอค่า network fee [1] support บอกว่าทำได้คือโอนให้คนอื่นใน Coinbase หรือไม่งั้นก็บริจาค เราก็คงเลือกบริจาค เพราะจะเอาไปให้ใครหละ 50 บาท?

แต่บันทึกไว้ว่ากาลครั้งหนึ่งเราถือ Bitcoin มาก่อนที่มันจะบูม – ก่อนจะมี Bitcoin Cash เชียวนะ!

[1] จริงๆ โอนออกได้สกุลนึงคือ BCH แต่ถ้ามันโอนออกมาได้สกุลเดียวมันไม่มีความหมายอะ

Victim blaming กับสงครามยูเครน-รัสเซีย

เวลาพูดถึงผู้หญิงถูกข่มขืนแล้วมีคนพูดเกี่ยวกับการแต่งตัว ผมมักจะนึกถึงกรณีการที่เผลอวางกระเป๋าตังค์ในที่สาธารณะ เหตุผลของผมก็คือ:

จริงอยู่ เป็นสิทธิ์ของ [ผู้หญิง/คน] ที่จะ [แต่งตัวเซ็กซี่/ตั้งกระเป๋าตังในที่สาธารณะ] และคนอื่นก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะ [ข่มขืนเค้า/ขโมยกระเป๋าตังเค้า] แต่ถึงกระนั้น คนก็ยังควรจะ [แต่งตัวให้มิดชิด/เก็บกระเป่าตังให้มิดชิด] เวลาอยู่ในที่เสี่ยง เพราะถ้าคนจะ [ข่มขืน/ขโมยกระเป๋าตัง] การเห็น [คนแต่งตัวเซ็กซี่/กระเป๋าตังตั้งอยู่] ก็เป็นการล่อตาล่อใจให้คนมา [ข่มขืน/ขโมยกระเป๋าตัง] อยู่ดี — แต่เมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้ว เราก็ไม่ควรจะไปซ้ำเติมคนๆ นั้น แต่เราควรจะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถ

ถ้าเป็น choice ข้างหน้า นักสิทธิ์ฯ ผู้หญิงน่าจะค่อนข้างเป็นเดือดเป็นร้อน แต่พอเป็น choice ข้างหลัง ผมว่าคนน่าจะเห็นด้วยมากกว่า ถามว่า มองแบบนี้ เป็น victim blaming หรือเปล่า?


เมื่อเร็วๆ นี้ มีคนแสดงความเห็นเกี่ยวกับสงครามยูเครน – รัสเซีย ประมาณว่าสงครามเกิดจากยูเครนเชื่อคำยุของเมกาฯ อยากเข้า NATO จนไปขัดใจรัสเซีย หรืออะไรทำนองนี้ ผมนั่งคิดนอนคิดแล้วก็พบว่า:

จริงอยู่ เป็นสิทธิ์ของ [ยูเครน] ที่จะ [อยากเข้า NATO] และรัสเซียก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะ [บุกยูเครน] แต่กระนั้น ยูเครนก็ยังควรจะ [วางตัวให้เป็นกลางหน่อย] เวลาชายแดนตัวเองติดกับรัสเซีย เพราะถ้ารัสเซียจะ [บุกยูเครน] การ [อยากเข้า NATO] ก็เป็นการขัดหูขัดตา ชวนให้รัสเซียมา [บุกยูเครน] อยู่ดี — แต่เมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้ว เราก็ไม่ควรจะชี้นิ้วสมน้ำหน้ายูเครน แต่เราควรจะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถ

คุ้นๆ มั้ยครับ?

อยู่ดีๆ ผมก็พบว่าหลักการเกี่ยวกับ victim blaming กลับสามารถนำมาปรับใช้ – หรืออย่างน้อยเล่าให้เข้ากัน – กับเรื่อง geopolitical ได้เฉยเลย แล้วการแสดงความเห็นอย่างข้างบนหนะ ถือว่าเป็น victim blaming หรือเปล่า


ที่สุดแล้ว ผมก็ต้องพูดตรงๆ ว่าผมไม่รู้คำตอบจริงๆ ว่าที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร แล้วมันต่างกันระหว่าง 3 เคสที่ยกขึ้นมานี้หรือเปล่า แล้วการเตือนก่อนที่เหตุจะเกิด จะถูกถือว่าเป็น victim blaming มั้ย?

หรือจริงๆ แล้วเราควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุมากกว่านี้? ถ้าเป็นเคสข้างบนอาจจะทำโดยการเพิ่มความกวดขันของเจ้าหน้าที่ หรือทำให้สังคมโดยรวมดีขึ้น อาจจะต้องทำควบคู่กันไป แต่สมมุติว่าพูดว่าเป็นรัสเซีย เราจะแก้รัสเซียได้จริงๆ เหรอ?

ใครช่วยให้คำตอบผมทีครับ

The right question

I’m sorry, my responses are limited. You must ask the right question.

Dr. Lanning’s Hologram, “I, Robot” (2004)

กล่าวถึงวัคซีนโควิด ผู้คนก็กล่าวกันไปมากมายว่าทำไมจึงผูกม้าเต็งอยู่แค่ 1 – 2 ตัว (AstraZeneca กับ Sinovac) และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความล่าช้าของวัคซีน ในความคิดผม มันมี logical assumption บางอย่างอยู่ถึงสาเหตุที่เรามีตัวเลือกเพียงเท่านี้ (ในตอนนี้) ซึ่งมันเกี่ยวกับการที่เราจะเอาเทคโนโลยีของ AZ มาผลิตในประเทศไทย ผมว่า ส่วนหนึ่งของดีลนี้ อาจจะมีการบังคับ (บางประการ) ให้เราไม่สามารถไปเอาของ Pfizer หรือ Moderna หรือ Johnson & Johnson มาได้ (ในระยะเวลาหนึ่ง)

ถ้าเราถามต่อว่า แล้วทำไมรัฐบาลจึงคิดว่าดีลนี้ดี ผมกำลังเดาใจรัฐบาลว่า มันอาจจะมี strategic advantage บางประการในการที่มีโรงงานผลิตวัคซีนในประเทศ และเค้าอาจจะคิดว่าประเทศไทยรอได้ แลกกับการที่จะได้อะไรบางอย่างจากการมีโรงงานในประเทศ ซึ่งไอ้ประเด็นรอได้เนี่ย คำสัมภาษณ์ล่าสุดของนายกฯ (20 เม.ย.) ก็เหมือนจะยิ่งย้ำว่ารัฐบาลเค้าคิดอย่างนั้นจริงๆ (แต่ถามว่าเค้าคิดถูกมั้ย ก็อย่างที่ทราบกันครับ 🙂 )

ดังนั้น คำถามที่ผมมีในตอนนี้คือ “ประโยชน์ของการยอมเข้าถึงวัคซีนช้า เพื่อแลกกับการมีโรงงานในประเทศ คืออะไร?”

That, detective, is the right question. Program terminated.

— Dr. Lanning’s Hologram, “I, Robot” (2004)

ปล. อย่าเอาบล็อกผมไป cite ที่ไหนนะโว้ย สงสัยเฉยๆ ก็เลยพ่นออกมาอย่างนั้น ใครมีข้อมูลอะไรดีๆ ก็แบ่งปันกันนะครับ ขอแค่ให้สุภาพแค่นั้นพอครับ 🙂

Adobe Flash และโครงงานคอมพิวเตอร์

หน้าแรกของโครงงาน

วันนี้ Adobe Flash ได้หมดอายุไขไปอย่างเป็นทางการแล้ว

คิดไปก็นึกถึงช่วงที่ทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ตอนนั้น ม.6 ผมตัดสินใจใช้ HTML 5 ในการทำโปรเจ็ค ในขณะที่โครงงานลักษณะเดียวกันของคนอื่นใช้ Flash กัน

ก็รู้สึกว่าตัวเองโชคดี ที่เลือกที่จะใช้เทคโนโลยีที่ (ตอนนั้น) ยังใหม่อยู่ (แต่นั่นทำให้โครงงานตัวเองยากขึ้นด้วย) จึงทำให้ทุกวันนี้มันยังเล่นได้อยู่ ซึ่งเอาจริงๆ ถ้านับทุกวันนี้นี่ก็เก่าแล้วนะ JQuery งี้ Bootstrap งี้ แถมเขียนโค้ดเปลี่ยนหน้าเองด้วย จัดว่าบ้าบิ่นใช้ได้

ถ้าใครอยากลองเล่น มันเป็นเกมทายคำถามเกี่ยวกับสิ่งมหัศจรรย์ทั้ง 7 ของโลก แต่เตือนไว้ก่อนว่าอาจจะเล่นบนมือถือไม้สะดวกซักเท่าไหร่ เพราะตอนเขียน smartphone น่าจะยังไม่แพร่หลายขนาดนั้น

คลิก: https://www.peat-network.xyz/LittleHistorian/

Brain dump เกี่ยวกับ COVID-19

(Disclaimer: ผมไม่ใช่หมอ แค่แสดงความคิดเห็นเท่านั้น เพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์)

สิ่งที่กำลังจะพูดนี้อาจจะฟังดูขัดกันเอง แต่จะบอกว่า

ผมอยากให้ “มี” ผู้ติดเชื้อลดลง
แต่ผมอยากให้ “พบ” ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น

ถามว่าทำไม? ยิ่งเราค้นพบผู้ที่ติดเชื้อแล้วมากเท่าไหร่ เราก็จะสามารถป้องกันไม่ให้พวกเขาเหล่านั้นแพร่เชื้อได้ดีขึ้นเท่านั้น

ความร้ายแรงของเชื้อโรคในครั้งนี้ อยู่ที่ความสามารถในการปิดบังอาการของมัน ทำให้เราจำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มข้น เพื่อไม่ให้คนที่มีเชื้อโรคแต่ไม่มีอาการแพร่เชื้อไปยังคนอื่นๆ

แต่ว่าเราจะใช้มาตรการเหล่านี้ได้นานแค่ไหน? ขณะนี้น่าจะเห็นได้ว่าผลกระทบของการ lockdown เริ่มส่งผลเป็นรูปธรรมให้กับใครหลายๆ คนแล้ว ดังนั้น ยิ่งเราผ่อนคลายการ lockdown ได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจเท่านั้น

แล้วเมื่อไหร่จะสามารถผ่อนคลายได้? ก็ต่อเมื่อความเสี่ยงที่การจะออกจากบ้านแล้วได้รับเชื้อกลับเข้ามาต่ำพอที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ และในความคิดผม วิธีที่จะลดความเสี่ยงนั้นได้ ก็คือการค้นหาผู้ที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการและแยกออกมาจากคนส่วนใหญ่ให้ได้เร็วที่สุด

นั่นเป็นสาเหตุที่ผมอยากให้พบคนที่ติดเชื้อให้ได้มากที่สุด แต่ถามว่าจะทำอย่างไรให้เราสามารถเพิ่มความสามารถในการค้นพบได้

ผมเห็นล่าสุดที่ไหนจำไม่ได้แล้วว่าจำนวนผู้เข้ารับการตรวจในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2,400 คนต่อวัน (ใครมีข้อมูลช่วยอัพเดททีครับ) และจำนวนผู้ป่วยที่พบอยู่ที่ประมาณ 30 คน +/- ต่อวัน

ผมไม่แน่ใจว่าตัวเลขปัจจุบันตันที่ขีดความสามารถของห้องแล็บหรืออยู่ที่เกณฑ์การตรวจ หากตันที่ความสามารถห้องแล็บ ผมเข้าใจว่าปัจจุบันมีความพยายามที่จะหาวิธีที่จะเพิ่มความสามารถในการตรวจอยู่แล้ว

แต่ถ้าตันเพราะเกณฑ์การตรวจ อาจจะต้องค่อยๆ ผ่อนคลายเกณฑ์ให้ครอบคลุมมากขี้น แล้วดูว่าเราจะพบผู้ป่วยมากขึ้นหรือไม่ ผมจำได้ว่ามีการผ่อนคลายเกณฑ์การตรวจไปก่อนหน้านี้ ก็น่าสนใจว่าผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในเกณฑ์เดิมแต่อยู่ในเกณฑ์ใหม่มีอัตราส่วนมาก-น้อยอย่างไร (เหมือนข้างบน ใครมีข้อมูลรบกวนบอกทีครับ)

ผมหวังว่า brain dump ในครั้งนี้จะจุดประกายการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่ประเด็นการเมือง ดราม่าและความเกลียดชัง ใครมีความเห็นต่างกันไปจากนี้เชิญพูดคุยกันได้ครับ

เรียนจบแล้ว ต้องรับปริญญา 🎓

Scenes from Convocation Spring 2011 Ceremony C the morning of June 9. Photos: Bart Cummins. Licensed under CC BY-NC-SA 2.0 (https://www.flickr.com/photos/thompsonrivers/5819292172)

การรับปริญญาเป็นพิธีการอย่างหนึ่งที่สื่อว่าเราได้เป็นบัณฑิตโดยสมบูรณ์ มันเป็นสิ่งที่ในปกติจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในชิวิต (แต่ถ้าเรียนต่อหรือปริญญาหลายใบก็อาจจะมีหลายครั้ง) หลายๆ คนอาจจะมุ่งความสำคัญการถ่ายรูปหรือของขวัญ แต่สำหรับผม ผมให้ความสำคัญ 2 อย่าง คือการรับปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ (ในที่นี้คือฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ) และการแสดงความยินดีจากทุกๆ คน

ดังนั้น เพื่อวันสำคัญนี้ทุกคนมีความสุข จึงขอระบุรายละเอียดต่างๆ ตามนี้

  • วัน เวลา สถานที่: เชิญทุกคนมาแสดงความยินดีได้ 2 วัน คือ
    • วันซ้อมใหญ่: วันศุกร์ที่ 6 ก.ย. ที่คณะวิศวะฯ/หน้าลานพระบิดา (TBD ให้โทรมาอีกที ดูด้านล่าง) เวลา 8:00 – 8:45 (เว้นไว้ไปถ่ายรูปหมู่) กับ 9:15 – 12:00
    • วันรับจริง: วันอาทิตย์ที่ 8 ก.ย. ที่คณะวิศวะฯ เวลา 8:00 – 11:00 (ถัดจากนั้นต้องเตรียมเข้าศูนย์ประชุมแล้ว)
  • ตากล้อง: ไม่มี ดังนั้น ถ้าอยากได้ภาพดีๆ ก็อาจจะต้องนำช่างภาพของตัวเองมาด้วย (ไม่ใช่อะไร ลืมหาครับ 😢) ส่วนตัวอาจจะให้ญาติๆ ถ่ายให้ แต่คุณภาพจะไม่ได้เท่ากับช่างกล้องมืออาชีพนะครับ
  • ของขวัญ: ขอความร่วมมือทุกคน งด ช่อดอกไม้, ป้ายทะเบียน, ลูกโป่ง และตุ๊กตา ผมว่ามันไม่ค่อยมีประโยชน์อะไรเท่าไหร่ จริงๆ ไม่ต้องมีของขวัญก็ได้ แค่มาถ่ายรูปเฉยๆ แต่ถ้าจะหาของขวัญจริงๆ ขอเป็นพวกสมุด, ปากกา, ดินสอ หรือของที่มันใช้สอยได้แล้วกันครับ
  • ติดต่อ: แนะนำให้โทรมือถือจะน่าเชื่อถือที่สุด แต่ถ้าใครไม่มีเบอร์ ให้ขอเบอร์ล่วงหน้าที่

หลักๆ ก็เท่านี้แล้วกัน แล้วมาแสดงความยินดีกันนะ ใครอยู่ใกล้ๆ หาดใหญ่ ก็ เรียนเชิญแล้วกันครับ 🙂

พูดถึงคอนเสิร์ต BNK48 1ˢᵗ 2gether

รูปประชาสัมพันธ์งาน — ภาพจาก https://twitter.com/bnk48official/status/1036978069079117824

  • งานพรุ่งนี้ จัดขึ้นที่หน้า Central World ซึ่งเค้าเคลมว่ามีจอ LED ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และเห็นว่าการแสดงพรุ่งนี้จะเล่นกับจอนี้ด้วย น่าสนใจนะ ว่าจะออกมาเป็นยังไง
  • พรุ่งนี้ จะเป็นการเปิดตัว MV “Kimi Wa Melody” เป็นครั้งแรก ซึ่งหมายความว่าก็จะต้องมีเนื้อไทย และเห็นว่าจะแสดง “Yume e No Route” ด้วย คราวนี้ เราจะมาดูกันว่าเนื้อไทยจะเป็นยังไง
    • เพชรเก็งเนื้อไทยไว้ 2 – 3 จุด กับ “เหมือนจะลั่น” ในตู้ปลา (โดยฟ้อนด์) อีก 1 จุด เดี๋ยวก็รู้กัน 555
    • อันที่จริง เพชรอยากจะฟังเพลง “Yume e No Route” นะ เพราะว่าเพชรหาฟังเพลงนี้ภาษาญี่ปุ่นแบบเต็มเพลง (และถูกกฎหมาย) ไม่ได้เลย เพราะ AKB48 เค้าบล็อกตัวซิงเกิ้ลที่เพลงนี้อยู่ไม่ให้ฟังในไทย
      • สำหรับ Die hard AKB48 fan: ซิงเกิ้ลดังกล่าวคือ “Tsubasa wa iranai”
  • งานในวันพรุ่งนี้ถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook ซึ่งแต่ก่อน BNK48 เคยถ่ายทอดสดพร้อมกันผ่านทาง Facebook และ Youtube แต่เดี๋ยวนี้เหลือแต่ Facebook อย่างเดียว ไม่รู้ Facebook มีดีลอะไรพิเศษกับ BNK48 หรือเปล่า
    • อันที่จริง ในแง่นี้ เพชรเชื่อใจ Youtube มากกว่านะ เพราะเหมือนเว็บเค้าออกแบบมาสำหรับ video ตั้งแต่ต้น แต่อันนั้นเป็นความเห็นส่วนตัว
  • ด้วยสาเหตุบางประการ BNK48 ได้ปล่อยคลิปสอนเต้นเพลงนี้ออกมา ซึ่งมันคล้ายกับตอนเพลง “Koisuru Fortune Cookie” นะ เป็นไปได้ว่า ในงานวันพรุ่งนี้จะมีการบันทึกภาพ แล้วเอาไปใส่ใน “MV ฉบับแฟนคลับ” ที่อาจจะออกมาในอีก 2 – 3 สัปดาห์ให้หลัง
    • หรือดีไม่ดี BNK48 อาจจะจงใจปล่อย MV ไม่เสร็จมา เพื่อจงใจเล่นกับผู้ชมวันพรุ่งนี้โดยเฉพาะเลยก็ได้ นี่อาจจะเกี่ยวกับจอ LED ข้างหลัง เดี๋ยวก็รู้

จบการเวิ่น + มโน ขอบคุณครับ

ผมโดนตกเข้าให้แล้ว

ตั้งแต่วง BNK48 ปล่อยเพลง Koisuru Fortune Cookie มาให้ชาวไทยได้ฟังเมื่อปลายปี 2017 ที่ผ่านมา ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ได้ยินเพลงนี้แล้วติดหู ร้องแล้วร้องอีก ด้วยทำนองที่ฟังสบาย (แต่อุดมไปด้วยรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมาก – ไม่เชื่อไปฟัง) และเนื้อเพลงที่ความหมายดี ผมก็เลยนั่งหาข้อมูลเกี่ยวกับเพลง วง และหาเวอร์ชั่นโคฟเวอร์มาฟัง ซึ่งนั่นทำให้ผมได้เจอกับ Continue reading ผมโดนตกเข้าให้แล้ว

PromptPay ณ โรงช้าง ม.อ.

เรื่องมีอยู่ว่า วันนี้ไปกินข้าวที่โรงช้างมา แล้วลืมกระเป๋าตังค์ไว้ที่ชมรม PSU Chorus (ชมรมอยู่ใต้ตึกกิจ) ตอนแรกผมก็กำลังจะเดินไปเอากระเป๋าตังค์แล้วหละ แต่นึกได้ว่าวันก่อนได้คุยกับร้านก๋วยเตี๋ยวร้านหนึ่ง แล้วเหลือบไปเห็น QR Code ของ PromptPay เพียงแต่เค้ายังไม่ได้เอามาตั้ง แต่เค้าก็เล่าให้ฟังว่ามีบางร้านตั้งแล้ว วันนี้ผมก็เลยลองเดินหาดู เผื่อจะมีร้านข้าวตั้ง QR Code บ้าง Continue reading PromptPay ณ โรงช้าง ม.อ.